ในปัจจุบัน การดำเนินชีวิตของผู้คนนอกจากความจำเป็นในปัจจัยด้านอาหาร, ที่อยู่อาศัย, เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค อีกปัจจัยหนึ่งที่มีความจำเป็นไม่แพ้กัน นั่นก็คือ อินเทอร์เน็ต (Internet) ทุกวันนี้ถ้าพูดถึงอินเทอร์เน็ต บางคนถึงขั้นพูดว่า ถ้าขาดอินเทอร์เน็ตไปชีวิตคงอยู่ไม่ได้เลยทีเดียว
และสิ่งที่จำเป็นสำหรับอินเทอร์เน็ตก็คือ เราเตอร์ (Router) ที่ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi Internet ซึ่งปัจจุบันเราเตอร์ดีๆ มีให้เลือกมากมาย แต่หลายคนยังคงใช้ของแถมที่ได้มาพร้อมกับบริการสัญญาณ และส่วนใหญ่เราเตอร์ของแถมเหล่านั้น ก็ใช้งานได้ไม่ค่อยดีนัก
รีวิวบทความนี้ก็เลยขอแนะนำ "Wi-Fi 6 Router A4262" เราเตอร์รุ่นใหม่จาก T3 ที่รูปทรงช่างดูโก้เก๋ โมเดิร์น กระทัดรัด มีจุดเด่นด้านระบบ Mesh Networking และรองรับ Wi-Fi มาตรฐาน IEEE 802.11ax หรือ Wi-Fi 6 สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 1,500 Mbps ในคลื่นความถี่ย่าน 2.4 GHz และ 5 GHz มีเทคโนโลยี MU-MIMO + OFDMA ที่ช่วยทำให้สัญญาณมีความเสถียร และสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไร้สายได้พร้อมกัน ประสิทธิภาพของมันจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาชำแหล่ะความสามารถไปพร้อมกัน
จุดเด่นของเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262
- ซีพียู Broadcom 1.5 GHz แบบสามแกน
- รองรับอุปกรณ์ได้พร้อมกัน ขณะที่ค่า Latency ต่ำ
- รองรับสัญญาณมาตรฐาน Wi-Fi 6 (802.11ax)
- เข้ารหัสแบบ WPA 3 มีความปลอดภัยสูง
- รองรับระบบ Mesh networking ติดตั้งพร้อมกันได้หลายตัว ไร้ปัญหาจุดอับสัญญาณ
- รวมคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz เป็น Wi-Fi SSID ชื่อเดียวกัน
- ความเร็วสูงสุด 1,500 Mbps
ควรเลือกเราเตอร์อย่างไรดี ?
การเลือกเราเตอร์มาติดตั้ง สิ่งแรกที่ควรตั้งคำถามคือ คุณมีความจำเป็นแค่ไหนที่จะใช้งานมัน เพราะแต่ละคนมีความจำเป็นไม่เหมือนกัน บ้างก็ใช้เล่นเกม บ้างก็ใช้แค่ทำงานทั่วไป ดังนั้นจึงต้องมีการเลือกตามความเหมาะสมของแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตที่ซื้อไว้ โดยสามารถพิจารณาตามตัวเลือกดังต่อไปนี้
- ราคาสมเหตุสมผลหรือเปล่า ถ้าถามว่าวัดจากอะไร ความเร็ว หรือคุณสมบัติตามสเปคเลย
- มีประกันอายุการใช้งานหรือป่าว (อันนี้เบสิค)
- ฟังก์ชันที่ต้องการมีครบหรือไม่
แน่นอนถ้าอยู่คนเดียวไม่ต้องแบ่งสัญญาณกับใคร เราเตอร์ราคาหลัก 100-500 บาท ก็น่าจะตอบโจทย์ แต่ถ้าให้ดีควรเลือกที่ราคา 500 - 2,000 บาท เพราะส่วนใหญ่มีระบบส่ง-รับสัญญาณดีกว่า และรองรับการเชื่อมต่อหลายอุปกรณ์พร้อมกันได้ดีกว่า
T3 Technology ผู้ผลิต Wi-Fi 6 Router A4262
ก่อนจะมาพูดถึงตัว Wi-Fi 6 Router A4262 อยากขอเท้าความก่อนว่า T3 คือใคร เพราะหลายคนอาจไม่เคยได้ยินชื่อ โดย T3 Technology หรือเรียกสั้นๆ ว่า T3 เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการโซลูชั่นด้านโทรคมนาคมแก่ผู้ประกอบการ หรือ รัฐวิสาหกิจ และรัฐบาล ซึ่งมีฐานระดับภูมิภาคที่ครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเลยทีเดียว แน่นอนว่ามีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศไทยด้วย แต่ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอยู่ในประเทศจีน
จุดมุ่งหมายขององค์กรถ้าพูดไปก็ยาว เอาเป็นว่า T3 มีทั้งบริการด้าน Internet Data Center (IDC) หรือ บริการคุ้มครองเก็บรักษาข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์แก่ลูกค้า, บริการด้าน Internet of Things (IoT) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันผ่านอินเทอร์, และบริการด้านการสื่อสาร BroadBrand ซึ่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็จะประกอบไปด้วยเราเตอร์ (Router), อุปกรณ์ SFP ในระบบ Fiber Optic, Access point อุปกรณ์กระจายสัญญาณ Wi-Fi ภายในบ้าน และอื่นๆ อีกมากมาย
จะเห็นว่า T3 จะให้บริการด้านอุปกรณ์การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนว่าต้องมีพันธมิตรผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตที่แข็งแกร่งร่วมด้วยมากมายไม่ว่าจะเป็น True, AIS, 3BB และ TOT ซึ่งเราเตอร์เครื่องนี้ เดิมทีรุ่นก่อนก็มีการพัฒนาขึ้นมาร่วมกัน
และไม่แปลกที่หลายคนจะไม่รู้จักชื่อ T3 เพราะ เราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 ถือเป็นสินค้าตัวแรก และครั้งแรกที่ทาง T3 เปิดขายแก่ลูกค้าทั่วไป (Retail Market) ก็สามารถหาซื้อได้ที่เว็บไซต์ Shopee หรือ Lazada
เรื่องน่ารู้ (คุณสมบัติของ) ของเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262
ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ (Technical Specifications)
Brand | T3 Technology |
Model | A4262 |
Port | 4x 10/100/1000 BASE-T Ethernet RJ45 Ports |
Antenna | 2x Internal Omnidirectional Antennas |
RAM | 256MB |
CPU Frequency | 1.5GHz |
Wireless Rate | 1500Mbps |
Safety | WPA-PSK, WPA2-PSK, WPA3-SAE |
Power Rating | 12V 1A |
Product Weight | 360g |
Product Size | 128*128*206mm |
Software |
WAN Connection, Band Steering, MU-MIMO, Port type, Auto-detecting WAN/LAN, Portmapping, IPv6, Security, Management, Diagnose, Mesh Function |
การออกแบบ (Design)
ส่วนดีไซน์ขอยอมรับว่าเห็นครั้งแรกแล้วนึกถึงเครื่องทำไอน้ำในห้องแม่ แต่มันไม่ใช่ ! นี่คือเราเตอร์ที่มีหน้าตาดูทันสมัย ด้วยรูปลักษณ์ที่เป็นแนวตั้ง ด้านล่างและด้านบนมีช่องระบายความร้อนให้ เสาอากาศอยู่ภายในไม่เกะกะ
ข้างใต้ของโลโก้มี LED ที่บอกแสดงสถานะของเราเตอร์ได้ด้วย อาทิ ไฟสีแดงค้างคือกำลังเปิดเครื่อง ไฟสีแดงกระพิบคือไม่มีการเชื่อมต่อสายอินเทอร์เน็ต ส่วนไฟสีเขียวค้างคือมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตพร้อมใช้งานแล้ว เป็นต้น และด้านใต้ก็จะมีปุ่ม Reset เอาไว้ให้ตั้งค่าโรงงาน
สัญญาณไฟแต่ละรูปแบบ บอกอะไรบ้าง
ด้านหลังเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 จะประกอบด้วยพอร์ต 4 ช่อง แบ่งเป็นพอร์ต WAN 1 ช่อง (อยู่ที่พอร์ต 1) และพอร์ต LAN อีก 3 ช่อง ทั้งหมดเป็นพอร์ต Gigabits Ethernet สามารถรองรับความเร็วได้ 1,000M นอกจากนี้ยังมีปุ่มเปิด-ปิดตัวเครื่อง ,ปุ่ม WPS และรูเสียบรูเสียบอะแดปเตอร์แบบ 12V
Next-Gen Gigabit Wi-Fi รองรับความเร็วสูงสุดถึง 1,500 Mbps
ว่ากันเรื่องประสิทธิภาพที่กล่องระบุไว้ว่าเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 มีการใช้ซีพียู Broadcom 1.5 GHz แบบสามแกน มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้พร้อมกัน ดำเนินการที่สมูทขึ้น และมีการประมวลผลแบบ Multi-tasking ให้ประสิทธิภาพสัญญาณ Wi-Fi เร็วแรงด้วยชุดส่งสัญญาณแบบอิสระ 4 ชุด ซึ่งเป็นชุดขยายสัญญาณ PA + LNA มีความเร็วสูงสุดถึง 1,500 Mbps สามารถรับและส่งคลื่น 5GHz กับ 2.4 GHz ได้ตามมาตรฐาน Wi-Fi 6 (802.11ax)
รวม 2 คลื่นความถี่ไว้ใน Wi-Fi SSID ชื่อเดียว
นอกจากเก่งด้านรับ-ส่งสัญญาณแล้วเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 มีการชูจุดเด่นเรื่องการรวมคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz มาเป็น Wi-Fi SSID เพียงชื่อเดียว ด้วยระบบการเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Smart Connect) ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องแบ่งช่องสัญญาณ เพื่อเปลี่ยน Wi-Fi กับอุปกรณ์บ่อยๆ
เข้าไปตั้งค่าได้ผ่านเมนู Wi-Fi Smart Connect ใน IP
โดยความเร็วถ้าเทียบตามสเปค 2.4 GHz จะรองรับความเร็วสูงสุด 450 Mbps หรือ 600 Mbps ในขณะที่ 5 GHz รองรับความเร็วสูงสุด 1300 Mbps แต่ถ้าเรื่องความแรงของรัศมีนั้น 2.4 GHz จะส่งสัญญาณได้ไกลกว่า ขณะที่ 5 GHz วงรัศมีจะใกล้กว่า และในกรณีของสัญญาณทะลุกำแพงและกระจก 2.4 GHz จะมีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนี้ทั้ง 2 คลื่นจึงจัดได้ว่ามีข้อดีของตัวเอง และจำเป็นต้องใช้สลับกันอยู่เสมอ
|
และถ้ามือถือของเรารองรับสัญญาณ Wi-Fi 6 เราก็จะได้เห็นความแตกต่างดังภาพต่อไปนี้
ลองนึกภาพง่ายๆ ว่าถ้าบ้านใครมีเราเตอร์ที่รองรับ 2 คลื่นความถี่เหมือนเราเตอร์ทั่วไป ซึ่งแยกชื่อ Wi-Fi กัน ตั้งอยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของบ้าน ถ้าคุณอยู่ห่างจากเราเตอร์ออกไประยะหนึ่ง สัญญาณ 5 GHz จะไปไม่ถึง ทำให้ต้องสับเปลี่ยนมาใช้ 2.4 GHz แทน แต่อันนี้ไม่ต้องสลับเลยเพราะเมื่อถึงระยะหนึ่งที่ 5GHz ไปไม่ถึง อุปกรณ์ของเราจะสลับสัญญาณให้เองอัตโนมัติ
ระบบ Mesh Networking อัจฉริยะ
เมื่อติดตั้งเน็ตบ้าน แน่นอนว่าตำแหน่งวางเราเตอร์ก็มีความสำคัญ เพราะต้องอยู่ในจุดที่สามารถกระจายสัญญาณได้ทั่วถึง ซึ่งรุ่นนี้นอกจากจะพิเศษตรงที่สามารถรวม 2 คลื่นความถี่ไว้ใน Wi-Fi ที่ใช้ SSID ภายใต้ชื่อเดียวกัน ด้วยระบบ Intelligent Mesh ยังทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 ได้หลายตัวพร้อมกัน ทำหน้าที่คล้ายๆ กับ Access Point ด้วยการตั้งค่าจับคู่ให้เป็น Master AP และ Slave AP
โดยหลังจากที่จับคู่เครือข่ายกันแล้ว เราเตอร์ทั้งหลายจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกันโดยอัตโนมัติใน Wi-Fi SSID ชื่อเดียว ซึ่งตามปกติแล้ว ถ้าติดตั้ง Access Point เพื่อช่วยกระจายสัญญาณ ในบ้านของคุณจะมีจำนวน Wi-Fi SSID เพิ่มขึ้นมาด้วย เช่นถ้าบ้านใครใหญ่ก็จะมี Home Wi-Fi 1 หรือ Home Wi-Fi 2 เป็นต้น
และเวลาที่เราเปลี่ยนจุดนั่งเล่นอินเทอร์เน็ต ก็ต้องมานั่งเชื่อมต่อ Wi-Fi กับ Access point ที่อยู่ใกล้ที่สุด แต่การมีระบบ Intelligent Mesh จะทำให้อุปกรณ์ของเราสามารถจับคู่กับเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 ตามตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกเลือก (ตามระยะสัญญาณ) ให้โดยอัตโนมัติ
เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายตัวพร้อมกัน
Wi-Fi 6 Router A4262 ตัวนี้อาจจะตอบโจทย์คนที่ชอบเล่นเกม หรือสายเกมเมอร์เป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยี MU-MIMO (Multi-user Multiple Input Multiple Output) ที่ใส่เข้ามาสามารถช่วยในการรับส่งข้อมูลครั้งละมาก ๆ ในเวลาเดียวกัน
บวกกับ OFDMA (Orthogonal Frequency-Division Multiple Access) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้แบรนด์วิดท์ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การมี 2 อย่างนี้ทำให้ช่วยให้ Wi-Fi 6 Router A4262 สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้หลายเครื่องพร้อมกัน 8 เท่า ขณะที่ค่า Latency ต่ำลง 75 % ซึ่งถ้าพูดในภาษาชาวบ้านก็คือค่า Ping ที่คนเล่นเกมน่าจะคุ้นเคย
WPA 3 เพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยสูง
รักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส WPA3 ทำให้มีอัลกอริทึมในการพิสูจน์ตัวตนของผู้ใช้งานที่แข็งแกร่งขึ้น และบังคับให้เข้ารหัสด้วยการจัดการเฟรม ทำให้ยากต่อการเจาะข้อมูล และทำให้ผู้ใช้งานมีความมั่นใจในการเข้าใช้งานบนเครือข่าย ทั้งยังสามารถสกัดกั้นโทรจัน (Trojan) ตรวจจับการบุกรุก และต่อต้านการโจมตี
การตั้งค่าสามารถเข้าไป Set ได้ในเมนู ตั้งค่า Wi-Fi ได้เลยผ่าน IP
วิธีการใช้งาน เราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262
ตัวเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 ถึงแม้รูปทรงจะดูแปลกตา แต่การติดตั้ง และใช้งานก็ไม่ต่างกับเราเตอร์อื่นเลย เพียงแค่เสียบสาย LAN ต่อตรงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นไปที่ โปรแกรมเปิดเว็บ หรือ เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) และกรอกหมายเลข IP ลงไป ซึ่งรหัสไอพีจะอยู่ที่ใต้เครื่อง จากนั้นกรอกชื่อผู้ใช้งาน (Username) และ รหัสผ่าน (Password) (ระบุไว้อยู่ที่ใต้เครื่อง) ก็สามารถเข้าระบบได้แล้ว การตั้งค่าไม่ต้องทำอะไรมาก ถ้าเป็นคนไม่ค่อยเชี่ยวชาญด้านไอทีก็ตามระบบไปดีที่สุด
ส่วนนี้คือหน้าต่างที่ใช้ดูสถานะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ WAN, LAN, Wi-Fi หรือเราเตอร์ที่ Mesh กันอยู่ได้
ต่อมาเป็นหน้าต่างการตั้งค่าเบสิคต่างๆ เช่น WAN, WPS, Reboot และ Wi-Fi Smart Connect ซึ่งในส่วนนี้เองที่เอาไว้ใช้สร้าง Wi-Fi SSID ที่รองรับทั้งคลื่น 5GHz และ 2.4GHz ตามที่บอกไว้ข้างต้น
|
|
เมื่อกดเข้าไปตั้งค่าแล้วจะเห็นหน้าตาประมาณนี้ สิ่งที่ต้องทำคือติ๊กหรือกรอกตามที่วงไว้ ซึ่ง SSID คือชื่อ Wi-Fi ส่วนรหัสผ่าน ก็ขอให้ตั้งยากๆ เอาไว้อย่าให้คนข้างบ้านมาหลอยเอาได้ จากนั้นเลื่อนลงมา และกด Save ส่วนอันอื่นจะปรับก็ได้ แต่ถ้าไม่เข้าใจว่ามันคืออะไรก็ปล่อยเอาไว้เหมือนเดิมไม่ต้องปรับอะไร
หน้าต่างนี้เป็นอะไรที่ดู Advanced ขึ้นมาหน่อย จะเห็นได้เลยว่ามีรายละเอียดมากมาย และตัวเลือกก็มีมากกว่า ทั้ง IPv6, Router Mode, Password และ Blacklist เป็นต้น
ทดสอบประสิทธิภาพ (Speed Test)
ทดสอบในสภาพแวดล้อมส่วนตัว
รอบแรกรองรับคุณภาพด้วย Wi-Fi แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตความเร็ว 1,000/1,000 Mbps ภายในคอนโดส่วนตัว ซึ่งขอยกหน้าที่นี้ให้กับ HUAWEI P40 เพราะแน่นอนว่าสมาร์ทโฟนรุ่นนี้มีการรองรับ Wi-Fi 6 (802.11ax) ด้วย
จากภาพผลลัพธ์ที่เราทำการออกมาผ่านฉลุยกับการเชื่อมต่อด้วยความเร็วที่ 930/755 Mbps (ในภาพแรก) ส่วนภาพต่อไป เพื่อความแน่ใจจึงขอลองอีกรอบ ผลก็ออกมาไม่ต่างกันมาก
ทดสอบในสภาพแวดล้อมการทำงาน
พอได้ลองทดสอบในสถานที่ส่วนตัวกันไปแล้ว แน่นอนว่าอาจยังไม่เห็นภาพ เพราะใช้อยู่คนเดียว การทดสอบต่อไปจึงขอเปลี่ยนมาเป็น ออฟฟิศ Thaiware ของเราบ้าง ซึ่งรองรับคุณภาพ Wi-Fi ด้วยแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตความเร็ว 1000/1000 Mbps เช่นเดิม มาดูกันว่าผลลัพธ์จะมั่นคงหรือ เหวี่ยงไปมากแค่ไหน
เพื่อให้รู้ถึงความแตกต่าง และทำให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ต่อไปนี้เราจะเปรียบเทียบกันให้เห็นชัดๆ ไปเลยว่าระหว่างอุปกรณ์ที่รองรับและไม่รองรับจะเป็นอย่างไร รวมถึงเปรียบเทียบกับเราเตอร์ของเดิมที่ใช้อยู่แล้วของ Thaiware ซึ่งผู้เขียนได้ตั้งชื่อ Wi-Fi ของ Wi-Fi 6 Router A4262 ว่า "T3 Thaiware" ขณะที่ Wi-Fi เก่านั้นใช้ชื่อเดิมว่า "Thaiware"
ความเร็วเบื้องต้น
เริ่มต้นที่การ ทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ต (Speedtest) พื้นฐานภายในออฟฟิศกันก่อนด้วยการเสียบสาย LAN ต่อตรงกับเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 ว่าสามารถไปแตะสูงสุดที่เท่าไหร่ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีคนทำงานและใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพร้อมกันหลายคน
จากภาพผลลัพธ์ก็เป็นไปตามที่เห็น ความเร็วการดาวน์โหลดยังคงมั่นคงนะ แต่ความเร็วการอัปโหลดตกไปมากเริ่มเห็นผลจากการเปลี่ยนสถานที่ ต่อไปมาลองเปรียบเทียบเราเตอร์เดิมของ Thaiware ที่ใช้ในปัจจุบันกับของ T3 ดูบ้าง
ความแตกต่างของเราเตอร์
จากภาพต่อไปนี้คือโน้ตบุ๊ค (Acer Swift 3) ที่จับคู่ Wi-Fi กับเราเตอร์เดิมของ Thaiware (สังเกตได้จากภาพด้านขวาที่ชื่อ SSID) ซึ่งอย่าเพิ่งตกใจที่มันทำความเร็วได้แค่ 195/172 Mbps เพราะมันเป็นเรื่องปกติของ Wi-Fi ออฟฟิศเราอยู่แล้ว
ต่อไปเปลี่ยนมาจับคู่กับพระเอกอย่าง Wi-Fi 6 Router A4262 ผลที่ได้คือ 729/568 Mbps ถือว่าชนะขาดลอย แม้ความเร็วจะมีเหวี่ยงไปบ้าง แต่ก็ไม่แย่นะ
เปรียบเทียบอุปกรณ์
|
ยังไม่พอใจ ขอทดสอบด้วยโน้ตบุ๊ค 2 รุ่น ซึ่งฝั่งซ้ายรองรับแค่ Wi-Fi 5 (โน้ตบุ๊ค HP 14-bp104TX) ส่วนฝั่งขวาคือรุ่นที่รองรับ Wi-Fi 6 (Acer Swift 3) จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการเชื่อมต่อ Wi-Fi SSID เดียวกัน แต่การแสดงค่า Wi-Fi Protocol กลับไม่เหมือนกัน
ปรากฏว่าในการทดสอบครั้งนี้มุมซ้ายโน้ตบุ๊ค HP 14-bp104TX กลับทำความเร็วได้แค่ 258 / 267 Mbps เนื่องจากอุปกรณ์ไม่รองรับ ขณะที่ Acer Swift 3 ชนะขาดลอยไปด้วยความเร็ว 853/469 Mbps ซึ่งความแตกต่างตรงนี้ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอุปกรณ์ที่รองรับก็มีความสำคัญ
ทดสอบ Smart Connect
ในการทดสอบนี้ เราได้ลองระบบ Smart Connect ที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นว่า รวมคลื่นความถี่ย่าน 2.4 และ 5 GHz ไว้ใน Wi-Fi SSID เดียวกัน ซึ่งจากผลลัพธ์ข้างต้น ก็ทำให้ได้เห็นความสะดวกในการเชื่อมต่อ เมื่อเดินเข้า และออกจากระยะรัศมีของทั้ง 2 ย่านความถี่
ทดสอบการเชื่อมต่ออุปกรณ์พร้อมกัน
สุดท้ายนี้ขอจัดหนักลองให้มือถือต่อกับเราเตอร์ Wi-Fi 6 Router A4262 และใช้เล่นเกมพร้อมกัน จะสังเกตได้ที่หน้าจอเกม บ่งบอกว่า Wi-Fi ที่ใช้ขณะนี้มีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อยู่ 108 เครื่อง (สมา์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ของทีมงานไทยแวร์) แต่ถึงอย่างนั้น อินเทอร์เน็ตที่ทดสอบได้ก็เท่าเดิมไม่มีตก ความเร็วอยู่ที่ 814/616 Mbps ขณะที่ค่า Ping ก็มีความเสถียรตัวเลขไม่เหวี่ยงมาก ยกโล่รางวัลให้ไปเลย
สรุป
นับว่าฟังก์ชันของ Wi-Fi 6 Router A4262 มีหลายอย่างที่เป็นข้อดี ทั้งเรื่อง Wi-Fi SSID และเรื่องระบบ Mesh รวมถึงการรองรับอุปกรณ์เชื่อมต่อได้พร้อมกันอย่างเสถียร ถือว่าตอบโจทย์สายเกมเมอร์ หรือบ้านที่มีสัมโนครัวประชาชนมากได้ไม่น้อย
ในขณะที่ความเร็วแรงของอินเทอร์นั้น Wi-Fi 6 Router A4262 ก็ได้แสดงให้เห็นประสิทธิภาพการปล่อยสัญญาณอย่างโดดเด่น และความเร็วสูงสุดที่เราได้เห็นในตอนต้นก็เป็นไปสุดท้ายนี้ถ้าใครสนใจ Wi-Fi 6 Router A4262 สามารถหาซื้อได้แล้วที่ Shopee หรือ Lazada เลยทันที
ลิงก์สำหรับสั่งซื้อ Wi-Fi 6 Router A4262 กับทาง Shopee
https://shopee.co.th/product/266067723/7841329562?smtt=0.0.9
ลิงก์สำหรับสั่งซื้อ Wi-Fi 6 Router A4262 กับทาง Lazada
https://s.lazada.co.th/s.1ACSM